ประวัติห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ   
 
        วิวัฒนาการ
                พ.ศ. 2516 โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยพยาบาล กรุงเทพ ขึ้นกับโรงพยาบาลหญิง สังกัดกรมการแพทย์ และมีอาคารโรงเรียนอยู่ด้านหลังโรงพยาบาลหญิง แต่เดิมห้องสมุดจะอยู่ในความดูแลของอาจารย์พยาบาล เนื่องจากไม่มีบุคลากรทางด้านห้องสมุด ประกอบกับจำนวนหนังสือยังไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือตำราภาษาต่างประเทศ ขณะนั้นตำราภาษาไทยไม่ค่อยจะมีการเขียนหรือพิมพ์ออกมา และงบประมาณก็มีจำนวนน้อย
 

                   จนกระทั่งในปี 2519 ได้มีหลักสูตร กศ.บ. (พยาบาล) สมทบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพิ่มอีก 1 หลักสูตร งานห้องสมุดจึงได้มีบรรณารักษ์ 1 คน และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 1 คน สายงานขึ้นกับฝ่ายบริการการศึกษา ตั้งแต่นั้นมาระบบงานห้องสมุดก็ได้พัฒนาขึ้นโดยนำหนังสือมาลงทะเบียน วิเคราะห์เลขหมู่ระบบดิวอี้ ติดบัตรยืม – กำหนดส่ง และซองบัตร มีการพัฒนาระบบการให้บริการ แต่จำนวนหนังสือก็ยังมีน้อยไม่เพียงพอ และนักศึกษาเข้าใช้ห้องสมุดกันน้อยมาก (จากการสอบถามผู้ที่เรียนอยู่สมัยนั้น) หนังสือส่วนใหญ่จะเน้นตำราภาษาต่างประเทศที่เก่ามาก งบประมาณในการสั่งซื้อหนังสือจะใช้เป็นหมวดค่าใช้สอย ต่อมาเมื่อมีการนำระบบจัดหมวดหมู่ NLM (The U.S. National Library of Medicine Classification System ) เข้ามาจัดหมวดหมู่ทางด้านการแพทย์และพยาบาล ห้องสมุดก็ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบดิวอี้มาเป็นระบบ NLM เพื่อให้สามารถขยายหมวดหมู่ทางด้านการพยาบาลได้มากขึ้น การค้นหาสืบค้นก็จะรวดเร็วเพราะหนังสือส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนังสือทางด้านการแพทย์และพยาบาล

 
                    ปี 2536 บรรณารักษ์และผู้ช่วยบรรณารักษ์ 1 คน รวมกันพัฒนาห้องสมุด ซึ่งขณะนั้นผู้อำนวยการ (สายหยุด  ศิริภาภรณ์) ต้องการพัฒนาห้องสมุดให้ได้มาตรฐานและทันสมัย มีหนังสือในอัตราส่วนที่เพียงพอต่อนักศึกษาและอาจารย์ คือ อาจารย์ 1 คน : หนังสือจำนวน 50 เล่ม นักศึกษา 1 คน : หนังสือจำนวน 30 เล่ม จึงใช้งบประมาณประจำปีในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ในการสั่งซื้อหนังสือเป็นจำนวนมาก และมีหนังสือเพิ่มขึ้นดังนี้
 
ปี
หนังสือ
วารสาร
หมายเหตุ
 
อังกฤษ/ชื่อเรื่อง
ไทย/ชื่อเรื่อง
 
2536
9,399
7
68
ได้ทำการจำหน่ายหนังสือเก่าเป็นบางส่วน
2537
6,819
7
73
 
2538
10,923
9
73
 
2539
13,871
10
70
 
2540
14,304
10
70
 
2541
15,175
10
74
 
2542
15,175
8
74
ไม่ไ้ด้ใช้งบประมาณซื้อหนังสือ
2543
18,212
14
56
 
2544
18,435
16
63
 
2545
23,332
16
98
 
 
                    เมื่อวิทยาลัยได้ทุ่มงบประมาณในการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดจำนวนมาก ทำให้ในปี 2537 ต้องย้ายห้องสมุดจากชั้น 1 ของตึกอำนวยการ ขึ้นไปชั้น 2 เพื่อให้มีบรรยากาศที่สงบและมีห้องเก็บหนังสือมากขึ้น นอกจากการพัฒนาหนังสือเพื่อให้ได้มาตรฐานของวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังจะต้องพัฒนาในเรื่องของการนำหมวดหมู่ LC เข้ามาใช้ร่วมกับ NLM เพื่อที่จะจัดระบบห้องสมุดให้ได้ตามสากลและริเริ่มพัฒนานำระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์มาใช้ในห้องสมุด โดยวิทยาลัยฯ ได้ส่งบรรณารักษ์ไปอบรมโปรแกรม CDS/ISIS และดูงานระบบบาร์โค๊ดที่ห้องสมุดโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งขณะนั้นเป็นแห่งแรกที่ได้ผลิตและนำบาร์โค๊ดมาใช้กับงานห้องสมุด แต่ห้องสมุดวิทยาลัยฯ ก็ยังไม่สามารถนำระบบบาร์โค๊ดเข้ามาใช้ได้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์ และขณะนั้นยังไม่มีงบประมาณในเรื่องนี้ สำหรับการจัดทำฐานข้อมูลของห้องสมุดนั้น ห้องสมุดได้รับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 เครื่อง พร้อมพิ้นเตอร์และสแกนเนอร์ สำหรับบันทึกข้อมูล ได้บันทึกข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูลโปรแกรม CDS / ISIS ต่อมาเปลี่ยนจากการทำฐานข้อมูลโปรแกรม CDS / ISIS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่เขียนโดยบางไทร แต่เมื่อได้ใช้ไประยะหนึ่งก็ประสบปัญหาจึงต้องใช้โปรแกรมของบริษัท Ture Power ซึ่งเป็นผู้เขียนโปรแกรมให้ห้องสมุดวิทยาลัยทดลองใช้เป็นแห่งแรก จนปัจจุบันนี้ห้องสมุดก็ได้รับการพัฒนาจากโปรแกรมของบริษัท Ture Power จนสามารถนำมาใช้ในการทำงานในระบบทะเบียน การสืบค้น การยืมคืน และรายงาน ทำให้การดำเนินงานของห้องสมุดเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว ทันสมัย
 
                    ในปี 2543 บรรณารักษ์ก็ได้พัฒนาจัดทำป้ายบอกหมวดหมู่หนังสือให้ชัดเจน จัดทำมุมต่าง ๆ มุมปฎิรูปการเรียนรู้ , มุม HA , มุมอ้างอิง ฯลฯ เพื่อให้ความสะดวกในการค้น เย็บเล่มวารสารล่วงเวลา ทำทะเบียนบันทึกข้อมูลหนังสือวิทยานิพนธ์และวิจัย จัดหมวดหมู่โสตทัศนวัสดุ อ้างอิง จัดนิทรรศการ หน้าห้อง ทำกฤตภาพ เผยแพร่ข่าวสาร แนะนำหนังสือใหม่ วางกฎเกณฑ์ในการใช้ห้องสมุดเพิ่มเติม จัดบรรยากาศสถานที่ให้ดูสะอาด เขียว และสบายตา จัดให้มีเคาน์เตอร์ตรวจเช็คหนังสือ และได้ปรับปรุงพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแจ้งให้บริษัทเจ้าของโปรแกรมนำไปเพิ่มเติม และได้ดำเนินการสั่งซื้อหนังสือเพิ่มขึ้น ฯลฯ
 
                     ปี 2549 ห้องสมุดได้ยกเลิกการใช้โปรแกรมของบริษัท Ture Power เนื่องจากวิทยาลัยได้พัฒนาระบบสารสนเทศด้วยการให้ศูนย์ IT ของมูลนิธิเด็กเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานครอบคลุมทุกหน่วยงานในวิทยาลัย และใช้ร่วมกันของเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาบบรมราชชนนี ห้องสมุดจึงได้เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมที่พัฒนาโดยศูนย์ IT มูลนิธิเด็ก และได้สร้าง Web Page ของห้องสมุดเพื่อคณาจารย์ และนักศึกษาสามารถสืบค้นได้จากทุกที่นอกจากนี้ห้องสมุดยังพัฒนาโดยบอกรับเป็นสมาชิกฐานข้อมูลวารสารออนไลน์ จำนวน 4 ฐาน ดังนี้คือ
 
                    1. ฐานข้อมูล Joanna Briggs Institute
                        http://www.Joannabriggs.edu.au
                    2. ฐานข้อมูล nursing consult
                        http://www.nursingconsult.com
                    3. ฐานข้อมูล Evidence Based Nursing
                        http://geteway.ovid.com/autologin.html
                    4. ฐานข้อมูล The Cochrane Library
                        http://www.thecochranelibrary.com
 

                    และดำเนินการติดตั้งประตูเครื่องดักจับสัญญาณเพื่อตรวจเช็คหนังสือโดยอัตโนมัติและมีนโยบายพัฒนาห้องสมุด
ให้เป็นห้องสมุดอัตโนมัติ

 
                   22 ก.ค. 2549 มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในห้องสมุดใหม่เพื่อขยายพื้นที่ สร้างหอประวัติการณ์ ห้องสมุดจึงปรับปรุงบริเวณห้องบรรณารักษ์ และบริเวณให้บริการยืม คืน ใหม่ทำให้มีเนื้อที่กว้างขวางและสวยงามยิ่งขึ้น
 
                   ปัจจุบัน ห้องสมุดมีหนังสือ จำนวน 33,453 เล่ม (23 พ.ย. 49)
                   ฐานข้อมูลออนไลน์(ต่างประเทศ)                        4             ฐาน
                   วารสารภาษาไทย (เย็บเล่ม)                           110             ชื่อเรื่อง